Image

Cluster Specialist

Cluster Food


ความรู้เกี่ยวกับอาหาร

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตหรือนําเข้าเพื่อจําหน่ายในประเทศมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เช่น 

1.ข้อกําหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหาร ข้อกําหนดสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร      

2.ข้อกําหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร 

3.ข้อกําหนดปริมาณหรือองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ การแสดงฉลากอาหาร รวมถึงการปฏิบัติตามเงื่อนไขการขออนุญาต อาหารตามแต่ละประเภทอาหารนั้นๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เพื่อการอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการจัดประเภทอาหารของตนเอง ก่อนที่จะดําเนินการตามข้อกําหนด ต่างๆ 

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สํานักอาหาร จึงได้จัดทํา แนวทางการจัดหมวดอาหาร 17 ประเภทขึ้น โดยอ้างอิงรูปแบบการจัดประเภทอาหารตาม Codex General Standard for Food Additives (GSFA) และ Indian Food Code เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประกอบการจัดชนิดอาหาร ก่อนการขออนุญาตได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาการใช้วัตถุเจือปนอาหาร

ประเภทกลุ่มสินค้า

Image

หมวดและชนิดอาหารและกลุ่มอาหารแบ่งได้ตามนี้

 

1) ผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ แทนนม (Dairy products and analogues) 

       นมและผลิตภัณฑ์จากนมทุกประเภทที่ได้จากน้ำนมของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อรีดนม (เช่น โค แกะ แพะ กระบือ) ทั้งที่ไม่ปรุงแต่งและปรุงแต่ง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบหลัก หมายเหตุคําว่า “ไม่ปรุงแต่ง (plain)” ตามหมวดนี้หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปรุงแต่งกลิ่นรส ผลไม้ ผัก หรือส่วนประกอบอื่นที่ไม่ใช่ นมหรือองค์ประกอบของนม เว้นแต่มีการอนุญาตไว้ในมาตรฐานที่ เกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนนม (Analogues) หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ ไขมันนมบางส่วนหรือทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยไขมันหรือน้ำมันจากพืช

 

2) น้ำมันและไขมัน และผลิตภัณฑ์ อิมัลชั่น (Fats and oils, and fat emulsions)

        ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งได้จากพืช สัตว์น้ำ สัตว์บก หรือสัตว์ทะเล จากแหล่งใดแห่งหนึ่งหรือนํามาผสม รวมกัน

 

3) ไอศกรีมหวานเย็น (Edible ices, including sherbet and sorbet)

        ขนมหวานแช่แข็งที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก โดยอาจมี ส่วนประกอบอื่นด้วย เช่น ผลไม้ น้ำตาล ทั้งนี้ต้องไม่มีส่วนประกอบ ของไขมัน หรือมีไขมันทั้งหมดน้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนัก ไม่รวมถึง ขนมหวานที่มีนมเป็นส่วนประกอบ

4) ผลไม้ ผัก สาหร่าย นัทและเมล็ด (Fruits and vegetables (including mushrooms and fungi, roots and tubers, pulses and legumes, and aloe vera), seaweeds, and nuts and seeds)

        ผลไม้และผัก (ซึ่งรวมทั้งเห็ดและรา หัวและรากของพืช พืชตระกูล ถั่ว ว่านหางจระเข้ สาหร่ายทะเล นัทและเมล็ด) ทั้งชนิดสดและ ผ่านการแปรรูป

 

5) ลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลต (Confectionery)

        ผลิตภัณฑ์โกโก้และผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่มี และไม่มีโกโก้ หมากฝรั่งและผลิตภัณฑ์ที่ใช้เคลือบหรือแต่งหน้าขนม

 

6) ธัญชาติ และผลิตภัณฑ์ธัญชาติ (Cereals and cereal products, derived from cereal grains, from roots and tubers, pulses, legumes and pith or soft core of palm tree, excluding bakery wares of food category) 

        ธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ ที่ได้จากเมล็ดธัญพืช รากและหัวพืช เมล็ดถั่ว ฝักถั่วชนิดต่างๆ และไส้ในอ่อน (Pith) ของต้นปาล์ม ทั้งที่ ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป ทั้งนี้ ไม่รวมผลิตภัณฑ์ขนมอบ 

 

7) ผลิตภัณฑ์ขนมอบ (Bakery wares)

       ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแป้งที่ได้จากธัญชาติซึ่งมีส่วนประกอบ ของกลูเตน (Gluten) เช่น แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวบาร์เลย์ แป้งข้าวไรย์ เป็นต้น หรือไม่มีส่วนประกอบของกลูเตนก็ได้ เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด เป็นต้นแล้วนํามาผ่านความร้อน เช่น อบ นึ่ง ทอด เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ตามหมวดนี้ ได้แก่ ขนมปัง ขนมอบชนิดไม่ปรุงแต่ง รสชาติ และส่วนผสมสําเร็จรูป

 

8) เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (Meat and meat products, including poultry and game) 

       เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจากเนื้อสัตว์ที่รวมถึงจากสัตว์ปีก สัตว์ที่ถูกล่าเพื่อการกีฬา ทั้งที่เป็นเนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่งหรือบด ที่ยังดิบหรือผ่านการแปรรูป

 

9) สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (Fish and fish products, including molluscs, crustaceans, and echinoderms)

        สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ซึ่งรวมถึงสัตว์น้ำที่มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา วาฬ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงกะพรุน หอยเม่ง ปลิงทะเล รวมถึงหอยชนิดต่างๆ เช่น หอยแครง หอยทาก เป็นต้น สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง ปู ลอบสเตอร์ เป็นต้น และสัตว์น้ำ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังและมีหนามที่ผิวหนัง เช่น เม่นทะเล ปลิงทะเล เป็นต้นทั้งที่เป็นสัตว์น้ำที่ยังดิบ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอาจ เคลือบผิวหรือคลุกด้วยเครื่องเทศก่อนจําหน่ายต่อผู้บริโภค หรือที่ ผ่านการแปรรูป

 

10) ไข่และผลิตภัณฑ์ไข่ (Eggs and egg products)

        ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่ ซึ่งรวมถึง ไข่สดทั้งฟอง ผลิตภัณฑ์จากไข่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีไข่เป็น ส่วนประกอบ

 

11) สารให้ความหวาน และน้ำผึ้ง (Sweeteners, including honey)

        น้ำตาล สารให้ความหวานแทนน้ำตาลและน้ำผึ้ง ทั้งในรูปแบบผง และเหลว

 

12) เกลือ เครื่องเทศ ซุป ซอส สลัด และผลิตภัณฑ์จากโปรตีน (Salts, spices, soups, sauces, salads and protein products)

        ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ปรุงแต่งเพื่อเพิ่มกลิ่นและรสให้กับอาหาร (ได้แก่ เกลือ และสารที่ใช้แทนเกลือ สมุนไพร เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส) ซอส น้ำส้มสายชู มัสตาร์ด และผลิตภัณฑ์ทํานองเดียวกัน สลัดและ ผลิตภัณฑ์ทาแซนวิช เครื่องปรุงรสจากถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์ โปรตีนที่ไม่ใช่โปรตีนจากถั่วเหลือง

 

13) อาหารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ทางด้านโภชนาการ (Foodstuffs intended for particular nutritional uses)

        อาหารที่ผลิตขึ้นโดยมีกรรมวิธีหรือสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะเพื่อใช้ ตามความต้องการพิเศษอันเนื่องมาจากสภาวะทางกายภาพ หรือ สรีรวิทยา หรือความเจ็บป่วย หรือความผิดปกติของร่างกาย โดย ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์แตกต่างไปจากอาหารชนิดเดียวกันที่ใช้ โดยปกติ สําหรับกลุ่มบุคคลที่มีสภาวะหรือความต้องการในการบริโภค อาหารเป็นพิเศษ เช่น อาหารสําหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารทาง การแพทย์ อาหารสําหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาหารมี วัตถุประสงค์เฉพาะทางด้านโภชนาการ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

 

14) เครื่องดื่ม (Beverages, excluding dairy products)

        ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ซึ่งรวมถึง เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยไม่รวมถึง เครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนประกอบหลัก

 

15) ขนมขบเคี้ยว (Ready-to-eat Savouries) 

        ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวในบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมบริโภคทันที เพื่อ รับประทานเล่นระหว่างมื้ออาหารหลักและบริโภคปริมาณที่น้อย กว่าอาหารหลัก โดยมีมันฝรั่ง ธัญชาติ แป้งหรือสตารช์ (จากหัวและ รากของพืช) หรือพืชตระกูลถั่ว หรือสัตว์น้ำเป็นองค์ประกอบหลัก ผ่านกระบวนการอบ ทอด หรืออัดพอง (เอ็กซ์ทรูชัน (extrusion)) และอาจมีการปรุงแต่งกลิ่นรสหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่เป็น ผลิตภัณฑ์เบเกอร์ หรือเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์หรือสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

 

16) อาหารเตรียมสําเร็จ (Prepared foods)

        ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นที่นอกเหนือจากหมวด 1-15 โดยมีลักษณะของ อาหารที่เตรียมจากส่วนประกอบหลากหลายชนิดรวมกัน เช่น เนื้อสัตว์ ซอส ธัญชาติ ชีส ผัก เป็นต้น เพื่อจัดให้เป็นอาหารเมนู ชนิดใดชนิดหนึ่ง (one dish) โดยอาหารเตรียมสําเร็จอาจต้องมี การเตรียมก่อนการบริโภค เช่น การให้ความร้อน (Heating) การ ละลาย (Thawing) การเติมน้ำ (Rehydrating)

 

17) วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยไม่ได้นํามาบริโภคโดยตรง (Substances added to food which are not fall in category 1-16 and not for direct consumption)

        วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการ นํามาบริโภคโดยตรงและนอกเหนือจากหมวด 1-16 ซึ่งได้แก่ วัตถุ เจือปนอาหาร (Food additives) สารช่วยในการผลิต (Processing aids) เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตอาหารรวมถึง เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก วัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขภาพ (Functional ingredients) เช่น สารอาหาร สารสกัด สาร สังเคราะห์ วัตถุแต่งกลิ่นรส (Flavoring agents) รวมถึงวัตถุหรือ ส่วนประกอบอื่นๆ ที่นอกเหนือ

 

Specialist : ความเชี่ยวชาญในงาน

        บริษัทฯ ให้บริการด้านพิธีการศุลกากรนำเข้า และส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทอาหารมาเป็นเวลานาน มีประสบการณ์ในการให้บริการด้านพิธีการศุลกากรผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภท อาทิเช่น อาหารสดแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง วัตถุดิบในการปรุงแต่งอาหาร ผักผลไม้แช่แข็ง

บริษัทฯ มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอาหาร สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งบริษัทฯ ยังจัดตั้งศูนย์ผู้ชำนาญการ และมีผู้ชำนาญการ (Specialist) เฉพาะด้านอาหาร ที่มีประสบการณ์สูงในงานด้านกฎระเบียบ และกฎหมายด้านศุลกากร คอยให้คำปรึกษาแนะนำให้กับลูกค้า เพื่อทำให้การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเป็นไปอย่างถูกต้อง และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า

 

งานบริการด้านพิธีการศุลกากร ดังนี้

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางทะเล)

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางอากาศ)

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางบก)

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางรถไฟ)

• รับขออนุญาตหน่วยงานราชการ สำหรับงานนำเข้า – ส่งออก

• ตรวจสอบพิกัดศุลกากรล่วงหน้า ก่อนการนำเข้า – ส่งออก

• ให้คำปรึกษาด้านพิธีการศุลกากร

• จัดหลักสูตรการสัมมนาให้ความรู้ด้านพิธีการศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ภายใต้สถาบันวิชาการวี-เซิร์ฟ

Image Image

Chat Live




Contact Us