โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....ค่าระวางขนส่งสินค้าในเดือนกันยายนโซนเอเชียเกือบทุกท่าเรือยังคงที่ไม่มีการปรับเพิ่มขึ้น ยกเว้นท่าเรือหลักของญี่ปุ่นที่ผู้ให้บริการรายใหญ่ยกเลิกการให้บริการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในเส้นทางนี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าค่าระวางจะเพิ่มขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นเพราะสายเรือที่ให้บริการอยู่กำลังวางแผนเพิ่มปริมาณตู้เข้ามาให้บริการเพื่อทดแทนปริมาณตู้ที่ขาดหายไป ตอนนี้สายเรือพยายามแข่งขันกันช่วงชิงโอกาสทางการตลาดจนทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการใช้บริการและปริมาณพื้นที่ขนส่งของผู้ให้บริการจนทำให้ค่าระวางลดลงมาได้อีกครั้ง ในช่วงปลายเดือนกันยายนสำหรับค่าระวางขนส่งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบังไปยุโรปและอเมริกาในเดือนกันยายนปรับลดลงตามภาวะตลาดที่มีปริมาณความต้องการองระวางขนส่งขนส่งสินค้าล่วงหน้าที่ลดลงส่งผลดีต่อปริมาณเรือที่ผ่านท่าเรือสิงคโปร์ทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้นโดยพบว่าระยะยะเวลารอเข้าเทียบท่าลดลงเป็น 3-5 วันจากเดิมที่ต้องรอ 7-10 วัน.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือจากประเทศไทยไปท่าเรือหลักในโซนยุโรปและอเมริกาทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกในเดือนสิ่งหาคมปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับค่าระวางขนส่งสิบค้าในโซนเอเชียที่ค่าระวางปรับลดลง วิกฤตในทะเลแดงยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าระวางขนส่งสินค้าไปท่าเรือในยุโรป การขนส่งสินค้าสายเรือจำเป็นต้องใช้เส้นทางโบราณ (จากการพูดถึงเส้นทางนี้ของสายเรือผู้รับขนส่ง) เรือต้องใช้เส้นทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปของแอฟริกาใต้บนเส้นทางนี้มีข้อจำกัดในการให้บริการในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความพร้อมของท่าเรือในการให้บริการถ่ายลำ อุปกรณ์อำนวยความสะดะดวกการยกและขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อปริมาณเรือเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นขีดความสามารถของท่าเรือจึงลดลง เกิดความแออัดของเรือที่รอเข้าเทียบท่าและกระทบให้เกิดการชะลอตัวในเส้นทางการขนส่งทำให้เรือเดินทางใช้เวลานานมากขึ้นยังส่งผลต่อท่าเรืออื่นๆ ในโซนที่ไกลออกไป เช่น ท่าเรือสิ่งคโปร์ ท่าเรือเซียงไฮท่าเรือฮ่องกง ท่าเรือปูซานและท่าเรือเจนใน ทำให้ต้อนเทนเนอร์จำนวนมากไม่สามารถหมุนกลับมาใช้งานได้ทันตามกำหนดการที่วางไว้จึงเป็นสาเหตุหลักของปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศไทยและท่าเรือในโซนเอเชียทั้งหมด.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
....ผลกระทบจากความแออัดหน้าท่าเรือของสิงคโปร์ (Singapore Port Congestion) เป็นท่าเรือถ่ายลำระดับโลกมีตู้คอนเทนนอร์จะถูกขนส่งจากประเทศไทยด้วยเรือขนาดเล็ก (Feeder Vessel) ขนาดบรรทุก 1500-3000 TEUS. สำหรับการขนส่งสินค้าไปในภูมิภาคที่ไกลออกไป เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป และอเมริกา คอนเทนเนอร์จะต้องขนถ่ายลงที่ท่าเรือสิงคโปร์เพื่อรอเรือแม่ (Mather Vessel) เเข้ามาจอดเทียบท่ารับส่งสินค้าต่อไป ในส่วนของการนำเข้าสินค้าก็เช่นเดียวกัน ตู้คอนเทนนอร์จะมาพักเพื่อรอขนส่งเข้ามาประเทศไทยสำหรับเส้นทางขนส่งของเรือแม่จะเริ่มต้นที่ทำเรือในประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี มีท่าเรือในโซนยุโรปเป็นปลายทางสุดท้าย (การขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจะต้องเปลี่ยนเรือที่หลัก Rotterdam port, Hamburg port, หรือ Le Haver port) ในสถานการณ์ทั่วไปท่าเรือสิงคโปร์สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้เป็นอย่างดี ท่าเรือของสิงคโปร์เป็นท่าเรือลำดับ 2 ของโลก ในปี พ.ศ.2566 มีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่ 39.01 ล้าน TEUs. (ท่าเรือลำดับที่หนึ่งคือท่าเรือเซี่ยงไฮ้มีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่า49 ล้าน TEUS.).....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....สายเรือผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศกำลังเจอวิกฤตอุปทานส่วนเกิน (Oversupply) ปริมาณเรือขนส่ง
แบบตู้คอนเทนเนอร์มีมากกว่าความต้องการขนส่งสินค้า จากข้อมูลของสภาการเดินเรือทะเลบอลติกและระหว่างประเทศ
(BMCO) พบว่าในปี 256 มีเรือคอนเทนเนอร์เข้าสู่ระบบขนส่ง 350 ลำ มีขนาดบรรทุก 2.2 ล้าน (TEU.) และในปี 2567
มีกำหนดการส่งมอบเรือคอนเทนเนอร์ 478 ลำที่มีขนาดบรรทุก 3.1 ล้าน (TEU.) เปรียบเทียบปี 2566 และ 2567 เรือมี
ขนาดบรรทุกเพิ่มขึ้นถึง 419 ผลจากคำระวางขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2564-2565 ทำให้กำไรของผู้ประกอบการขนส่ง
ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นตามไปด้วยส่งผลให้มีการทำสัญญาต่อเรือใหม่ทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งโดยการขยายกองเรือ
และทดแทนเรือที่มีอายุการใช้งานมานาน โดยพบว่าเรือที่ทำการต่อขึ้นมาใหม่จะเป็นเรือที่มีขนาดบรรทุกมากกว่า 15,000
TEU. ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับสถานการณ์ขนส่งสินค้า.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....การนำเข้าส่งออกสินค้าทางเรือของไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาเรือไม่เข้ามาให้บริการตรงตามกำหนดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่าเรือที่ข้ามาให้บริกรในส้นทางขนส่งไปโซนยุโรปไม่มีความแน่นอนเรือดี้เลย์ 5-10 วันผลกระทบจากสถานการณ์ความล่าช้ในการทำงาน เช่น Port Durban, Port Cape Town ของแอฟริกาใต้ส่งผลให้ท่าเรือปลายทางสุดท้ายโดยเฉพาะประเทศไทยที่สินค้าต้องขนถ่ายจากเรือแม่ (Ocean Vesse! เปลี่ยนขนส่งด้วยเรือขนาดเล็ก (Feeder Vessel) อีกครั้งที่ท่าเรือสิงคโปร์หรือพอร์ตกลังของมาเลเซียก่อนที่จะส่งต่อมาที่ท่เรือคลองเตยหรือท่าเรือแหลมฉบัง สำหรับท่เรือแหลมฉบังยังพบว่าตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าบางส่วนจะต้องขนส่งต่อโดยทางรถไฟไปที่ ICD ลาดกระบังหรือใช้เรือลำเลียง (Barge Carrying)ขนส่งไปที่ท่เรือกรุงเทพ กรณีใช้เรือบาร์จจะเจอกับปัญหาความล่าข้าในการขนส่งเพิ่มขึ้นอีก 5-7 วัน โดยพบว่าหลายๆ สายเรือเลือกใช้ผู้ให้บริการเรือบาร์จรายเดียวกันจึงทำให้มีความล่าช้ในการขนส่งเมื่อเรือของแต่ละสายเรื่อเข้ามาเทียบท่พร้อมๆ กัน โดยพบว่าการนำเข้าสินค้าแบบ C&F ที่ภาระค่าระวางขนส่งสินค้าเป็นของผู้ส่งออกจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะผู้นำเข้าไม่ทราบเส้นทางการขนส่งล่วงหน้ารับรู้แต่เพียงว่าสินค้จะถูกส่งถึงท่เรือตามที่ตกลงกันแต่ในรายละเอียดของเส้นทางกรขนส่งจะถูกรับรู้เมื่อสินค้ากำลังจะเข้าเทียบท่ซึ่งไม่สามารถแก้ปรับเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งในขณะนั้นได้ อย่างไรก็ตามแนะนำให้ผู้นำเข้ากำหนดเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องของท่าเรือภายในประเทศไทยก่อนการนำเข้าสินค้าจะดีที่สุด.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....ผลกระทบจากวิกฤตการขนส่งสินค้าผ่านทะเลแดงจะส่งผลต่อสภาพคล่องของตู้คอนเทนเนอร์ในไตรมาสที่ 2 นี้ การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยจะต้องพบกับปัญหาตู้คอนเทนเนอร์จะขาดสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้นจากข้อมูลการให้บริการของลูกค้าวี-เชิร์ฟฯ พบว่าปริมาณตู้เปล่าในลานรับตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอโดยเฉพาะสินค้าที่ส่งออกไปท่าเรือในกลุ่มประเทศ South Africa (Port Durban, Port Cape Town, Port Saldanha, Port Coega, Port East London (East Cape Province), Port Elizabeth (Gqeberha),Port Richards) และท่าเรือหลักๆ ในโซนยุโรป (Port Rotterdam Netherlands, Antwerp-Bruges Belgium, Hamburg ermany, Valencia Spain) เพราะการขนส่งใช้เรือแม่ลำเดียวกัน จากการสอบถามสายเรือผู้รับขนส่งสินค้าพบว่าได้มีการประเมินปริมาณการส่งออกสินค้าของไทยว่าปริมาณตู้ที่มีอยู่ยังเพียงพอต่อการให้บริการแต่อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าข้างในกรณี เช่น การรอให้ตู้คอนเทนเนอร์แห้งจากการล้างทำความสะอาด, การซ่อมตู้, การคัดเลือกตู้เพื่อให้เหมาะกับลักษณะสินค้าที่ต้องการส่งออก เช่น สินค้ากลุ่มอาหาร, สินค้าอุปโภคต่างๆ เนื่องจากสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะเป็นกลุ่มสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบชั้นต้นสำหรับนำไปผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น ไม้ยางพารา ยางธรรมชาติจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีสภาพดีมากนักอย่างไรก็ตามสินค้าจำเพาะบางกลุ่มที่ได้สิทธิพิเศษเพราะขนส่งภายใต้สัญญาขนส่งระหว่างผู้ซื้อและสายเรือ (Liner Sevice Contract) เช่น แป้งมันสำปะหลัง, ข้าว, น้ำตาล จะมีตู้คอนเทนเนอร์แยกไว้โดยเฉพาะ สำหรับข้อจำกัดอื่นๆ เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าในไตรมาสที่ 2 จะเกี่ยวกับสถานการณ์เรือดีเลย์ (Delay) ที่เกิดจากการลดปริมาณเที่ยวเรือลงจากปริมาณสินค้าที่รับขนส่งต่อเที่ยวที่ลดลงในทุกภูมิภาคทั่วโลก.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....กรมการค้าต่างประเทศได้มีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนได้มีพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมการค้าต่างประเทศจะต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง โดยกำหนดมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนกำหนดให้ขยายการเรียกก็บอากรตอบโต้กับการนำเข้าสินค้าที่มีการไต่สวนแล้วปรากฎว่ามีการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้ในอัตราไม่เกินอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บกับสินค้าที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้จากประเทศผู้ส่งออกจากประเด็นแนวทางของมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) และ/หรือมาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing มีกลุ่มสินค้าที่ผู้ประกอบการควรเข้าไปตรวจสอบกับทางกรมการค้าต่างประเทศ สามารถเข้าไปที่ https://thait.dft.go.th หรือใช้คำว่า มาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า ในการค้นหารายการสินค้าที่ไทยใช้มาตรการมีกลุ่มสินค้าประเภทเหล็ก, กรดชิตริก, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากเมลามีนที่ยังมีการเรียกเก็บโดยเฉพาะกลุ่มเหล็กที่มาจากประเทศจีน, เวียดนาม, ไต้หวัน, อินเดีย, เกาหลีใต้และกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นหลักที่ก่อนนำเข้าทางผู้ประกอบการนำเข้าควรตรวจสอบก่อนที่จะมีการนำเข้ามา หากนำเข้าและมีได้สำแดงภาษีทุ่มตลาดเอาไว้ก็จะมีความผิดตามกฎหมายศุลกากรมาตรา 202 ผู้ใดยื่น จัดให้ หรือยอมให้ผู้อื่นยื่นใบขนสินค้า เอกสารหรือข้อมูลซึ่งเกี่ยวกับการเสียอากรหรือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ถูกต้องไม่บริบูรณ์ อันอาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดในรายการใดๆ ที่ได้แสดงไว้ในใบขนสินค้า เอกสาร หรือข้อมูลดังกล่าวต่อพนักงานศุลกากรต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....การนำเรือขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซโดยเปลี่ยนเส้นทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปกระทบต่อค่าระวางเรือหรือ "Freight Charge"แนวโน้มปรับสูงเฉลี่ย 2 เท่ากระทบต่อต้นทุนการนำเข้าส่งออกและความเชื่อมั่นด้านการบริโภคของโลกซึ่งมีความเปราะบางเป็นทุนอยู่ก่อนแล้ว หากความขัดแย้งยังไม่ยุติและบานปลายอาจนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจของโลก เนื่องจากทะเลแดง (Red Sea) เป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของโลก โดยเรือสินค้าที่ผ่านคลองสุเอซ ต้องผ่านทะเลแดง คลองสุเอซเป็นเส้นทางเดินเรือเชื่อมสามมหาสมุทร ได้แก่ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....สถานการณ์ขนส่งสินค้าทางเรือร้อนแรงอีกครั้งหลักเกิดการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในช่องแคบบาบุลมันดับ(Bab-al-Mandeb) เขตทะเลแดงจากกลุ่มกบฏฮูตีในประเทศเยเมน (Houthis, Yemen) ด้วยจรวดมิสไซด์และโดรนสังหารทำให้เรือขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์อย่างน้อย 5 ลำได้รับความเสียหายมีตู้คอนเทนเนอร์บางส่วนตกลงไปในทะเลตู้ส่วนที่เหลือได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ ก่อนหน้านี้มีสายเรือหลายรายผู้รับขนส่งสินค้าในเส้นทางนี้ระงับการเดินทางขนส่งสินค้าไปยุโรปผ่านทะเลแดงชั่วคราว แต่หลังจากที่ทางสหรัฐอเมริกาส่งเรือรบคุ้มครองทำให้สายเรือกลับมาให้บริการผ่านคลองสุเอซแต่อาจมีผลทำให้เพิ่มอัตราค่าประกันภัยและค่าระวางเรือเพิ่มขึ้น (ข้อมูล ณ วันที่ 24ธันวาคม 2566) ทั้งนี้การเปลี่ยนเส้นการเดินเรือไม่ผ่านคลองสุเอซต้องอ้อมแหลม Good Hope (South Africa) ทำให้ใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้น 15-20 วันและสายเรือจะใช้เวลาเดินทาง 40-50 วันเป็นอย่างน้อยจึงสรุปได้ว่าเรือแต่ละลำใช้เวลาขนส่งเที่ยวไปและกลับไม่น้อยกว่า 90 วัน.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลทั่วโลกอยู่ในจุดต่ำสุดหลังจากนี้จะมีการปรับค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ในตอนนี้ค่าระวางที่ใช้บริการกันอยู่ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาส่งผลให้ผลประกอบการของสายเรือขนาดใหญ่ผลกําไรติดลบมีการปลดพนักงานออกกว่า 7,000 คนและหากพบว่าสถานการณ์การขนส่งสินค้าไตรมาสแรกของปีหน้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้จะปรับลดจํานวนพนักงานอีกประมาณ 3,500 คน โดยตลอดทั้งปีที่ผ่านมาสายเรือผู้รับขนส่งได้มีความพยายามทุกรูปแบบแล้วเริ่มจากการลดจํานวนเที่ยวเรือ ลดจํานวนเรือ การรวมกลุ่มกับเพื่อร่วมกันขนส่งสินค้าและการลดค่าระวางเพื่อกระตุ้นการนําเข้า-ส่งออกทุกวิธีไม่ได้รับผลการตอบรับในเชิงบวก สายเรือยังคงขาดทุนอย่างต่อเนื่อง.....
บรรณาธิการ : คุณโชคชัย ชูขวัญชาญณรงค์
ผู้ชำนาญการงาน Cross Border Logistics : คุณอารีรัตน์ สันตะพันธุ์
ผู้ชำนาญการด้านพิธีการศุลกากร : คุณธนากร แสงพิทูร
.....ความตึงเครียดของสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางทะเลสายเรือไปท่าเรือของอิสราเอลมีการยกเลิกไม่ให้บริการส่งสินค้าไปเรือของอิสราเอล (Ashdod port, Haifa port) ยังมีแค่สายเรือสัญชาติอิสราเอล “Zim Integrated Shipping ServicesLtd” ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก (Top 10 World Shipping Line) สำหรับความเสี่ยงของการขนส่งสินค้าภายใต้สภาวะสงครามของอิสราเอล (Israel War Risk Charge) ทำให้เบี้ยประกันภัยสำหรับการขนส่งไปอิสราเอลเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยสายเรือZim Line จะผลักภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปที่ผู้ส่งออกโดยคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น USD100/TEU.....
โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์
.....ค่าระวางขนส่งสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความสมดุลของต้นทุนการหมุนเวียนงตู้คอนเทนเนอร์เปล่ากลับมาให้บริการขนส่งอีกครั้ง ความเชื่อมั่นต่อปริมาณสินค้าในตลาดของผู้รับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (แบบตู้คอนเทนเนอร์) ยังคงลดลงโดยพบว่าการจองระวางขนส่งสินค้าล่วงหน้าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปกติแล้วการจองระวางล่วงหน้าสูงสุดในรอบปีจะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกๆ ปีและจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำ หรับการจองระวางที่เพิ่มขึ้น (Peak Season Surcharge) แต่ในปีนี้ยังไม่มีประกาศเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวออกมา สำหรับการจองระวางของผู้นำเข้าสินค้าในประเทศปลายทาง (Nomination) โดยการขนส่งต่อเที่ยวจะมีลูกค้ากลุ่มนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 การจองระวางของผู้นำเข้าในช่วงนี้จัดเป็นกลุ่มมีความไม่แน่นอนสูงโดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมามีการยกเลิกการจองระวางล่วงหน้าเป็นจำนวนมากดังนั้นสายเรือผู้รับขนส่งจึงสรุปตรงกันว่าการฟื้นตัวของตลาดขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในเดือนตุลาคมยังไม่มีโอกาศอย่างแน่นอน เรือส่วนใหญ่ยังมีพื้นที่ว่างต่อเที่ยวขนส่งเป็นจำนวนมาก.....