Image

บทความต่างๆ


Image
ดีเดย์เปิดประเทศ

สัปดาห์ที่แล้วประเด็นวัคซีนไม่มาตามตารางวันนัดสร้างความผิดหวังและท้อแท้กับการทำงานของหน่วยงาน รัฐรวมถึงไม่พอใจต่อรัฐบาล มีการแสดงออกแบบไม่เกรงใจทั้งหมอ กลุ่มอีลีท นักธุรกิจตลอดจนประชาชนทั้งในเมือง และชนบทสามัคคีออกมาอัดการทำงานที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ แต่ละหน่วยงานของรัฐออกมาพูด “ฉันไม่ผิด-ฉันไม่ เกี่ยว” โยนกันไปมา มีการออกมาขอโทษก็ทำไปแบบเสียไม่ได้เพราะสีหน้าท่าทางไม่ได้บ่งบอกว่าขอโทษจริง ความ ผิดพลาดใหญ่ระดับชาติเช่นนี้หากเป็นภาคธุรกิจ “CEO” ที่รับผิดชอบคงอยู่ยากแต่ภาคการเมืองเขาใช้กระเบื้องตรา ช้างวัดที่ความหนาและจำนวนมือที่ยกให้ในสภาว่าฝ่ายไหนมากกว่ากัน การถามหาสปิริต “ไม่มี” เพราะเป็นวัฒนธรรม การเมืองน้ำเน่าไม่ว่าการเมืองยุคไหนก็เหมือนกันหมด


ภูมิทัศน์การเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานหลังพ้นวิกฤตจากโควิด...จะก้าวผ่านได้อย่างไร

ฉบับนี้ขอวิเคราะห์ตลาดแรงงานหลังพ้นวิกฤตว่าภูมิทัศน์จะเป็นอย่างไรทั้งรัฐบาล-เอกชน-มนุษย์เงินเดือน หรือแรงงานจะต้องปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอด ความเห็นของผู้เขียนการเข้ามาของเทคโนโลยีอัจฉริยะในรูปแบบต่างๆ จะมีบทบบาทต่อทุกอณูของระบบเศรษฐกิจมีพลวัตรต่อการจ้างงานรวมถึงลักษณะของอาชีพจะเปลี่ยนแปลงต่างไป จากเดิมอย่างสิ้นเชิง มีการคาดการณ์ว่าถึงแม้ไวรัสโคโรนายุติซึ่งคงไม่ได้เห็นในเร็วๆ นี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะ กลับมาใกล้เคียงหรือเท่ากับปีพ.ศ.2562 ซึ่งเป็นปีก่อนการแพร่ระบาดอย่างน้อย 3 ปี อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้อาจเร็ว ไปที่จะสามารถบ่งชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะยุติลงได้เมื่อใด เพียงแต่อยากให้ข้ามช็อตมองอนาคตข้างหน้าเพื่อให้ เห็นภูมิทัศน์เศรษฐกิจและการกลับมาดำเนินชีวิตเพื่อการก้าวผ่านอย่ามัวไปติดอยู่กับอดีตจนไม่เห็นอนาคต


นายจ้าง-ลูกจ้างจะอยู่รอดได้อย่างไร...ภายใต้วิกฤตโควิดรอบใหม่

เศรษฐกิจปีนี้แรงเริ่มต้นด้วยการกลับมาระบาดรอบใหม่ของไวรัสโคโรน่าอย่างไม่ทันตั้งตัวรอบใหม่นี้กล่าว

ตรงกันว่าจะหนักกว่า การระบาดก่อนหน้านี้มาจากแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายลักลอบเข้ามาแพร่เชื้อลามไปถึง

แพปลา-ตลาดสด ต่อมาเป็นการแพร่ระบาดจากบ่อนการพนันแถบภาคตะวันออกพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากจนควบคุม

การเข้า-ออกพื้นที่ 5 จังหวัดซึ่งยังไม่รู้ว่าจะรับมืออยู่ได้หรือไม่ ขณะนี้เริ่มเห็นการระบาดในโรงงานอุตสาหกรรม

โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลแต่ละโรงงานมีคนต่างด้าวเป็นหลักพัน

บางแห่งเป็นหมื่นคนจากข้อมูลแรงงานที่ถูกกฎหมายมีประมาณ 2.397 แสนคนแต่จำนวนจริงต้องเอา 2 คูณ


วันแรงงานปีนี้ไม่สดใส...ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากโควิดระลอก

เมย์เดย์ (May Day) หรือวันแรงงานสากลตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมปีนี้เป็นปีที่สองที่ไม่มีการเฉลิมฉลอง

เนื่องจากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานอยู่ในภาคเอกชนและแรงงานอิสระ

รวมกันประมาณ 20-21 ล้านคน มีสถานประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล 781,829 กิจการและโรงงาน

อุตสาหกรรมทั่วประเทศ 1.401 แสนแห่ง นายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมเพียงร้อยละ 61.5 มีลูกจ้างซึ่งถือเป็น

แรงงานในระบบประกันสังคมประมาณ 11.05 ล้านคน ผลกระทบจากโควิดที่ผ่านมาธุรกิจลดน้อยหายไป 4,949

กิจการ สถานประกอบการจำนวนมีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับแรงงานจำนวนมากที่อนาคตแขวนอยู่บนความไม่แน่นอน


เศรษฐกิจพึ่งพาแรงงานต่างด้าว...ภายใต้ภาวะโควิดทางออกอยู่ที่ไหน

เป็นที่ทราบกันดีว่าโควิดระลอก 3 กำลังระบาดหนักประเทศเพื่อนบ้านทั้งเมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซียอยู่ใน สภาวะไม่ต่างกับไทย แรงงานเหล่านี้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการรวมถึงบ้านเรือนปะปนอยู่ในสังคมและชุมชนจึง เป็นความเสี่ยงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการแพร่เชื้อ ตัวอย่างที่ชัดเจนปีที่แล้วเริ่มจากคลัสเตอร์โรงงานอาหารทะเลแปรรูป จังหวัดสมุทรสาคร ปีนี้พบการระบาดในหลายพื้นที่ เช่น เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ฯลฯ ล่าสุดแคมป์ก่อสร้าง จังหวัดนนทบุรีมีคนติดเชื้อเกือบครึ่งพันคนยังไม่รวมแคมป์ก่อสร้างต่างๆ ในเขตกทม.กว่า 400 แห่งและที่ทำงานตาม สถานประกอบการ โรงงาน ร้านค้าปลีก ร้านอาหารและแผงลอยต่างๆ


วิกฤตโควิดรอบใหม่...ทางออกอยู่ที่ไหน

หลังสงกรานต์การแพร่ระบาดของโควิดยกระดับความรุนแรงแต่ละวันผู้ติดเชื้อเฉลี่ยมากกว่า 1,400 คน

เฉพาะวันศุกร์ที่ผ่านมาตัวเลขทะลุสองพันกว่ารายและยังไม่มีท่าทีว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาด มาตรการ

ของศบค.และมาตรการ 9 ข้อของรัฐบาลเป็นแค่การซื้อเวลารอการเข้ามาของวัคซีนที่ล่าช้ามาก คำถามไทยมีศักยภาพ

ทั้งความพร้อมทางการแพทย์และทางการเงินแต่ก็ไม่ทราบเพราะเหตุผลใดทำไมจึงไม่สามารถจัดหาวัคซีน จากข้อมูล

ของบลูมเบิร์กล่าสุดการฉีดวัคซีนของไทยต่อจำนวนประชากรอยู่ลำดับที่ 65 ของโลก (ข้อมูลบางที่ระบุลำดับที่ 138)

สำหรับอาเซียนไทยรั้งท้ายอยู่อันดับ 8 มีผู้เข้าถึงวัคซีนเพียงร้อยละ 0.5 ห่างไกลจากเป้าหมายที่จะฉีดให้ได้ร้อยละ 70

ของประชากร ประเทศที่อยู่แถวหน้าไทย เช่น สิงคโปร์สัดส่วนการเข้าถึงวัคซีนร้อยละ 19.4, อินโดนีเซียถึงแม้มี

ประชากรมากสุดแต่การเข้าถึงวัคซีนร้อยละ 3.3 แม้แต่ประเทศสปป.ลาวก็ยังแซงหน้าไทยสัดส่วนร้อยละ 1.0 ข้อมูลนี้

คงสะท้อนถึงประสิทธิภาพของผู้รับผิดชอบได้เป็นอย่างด


ลูกจ้างรู้ยัง!

   สภาองค์การนายจ้าง เผย โควิด-19 จบลง นายจ้างจะเร่งปรับตัวรับโลกเปลี่ยนสูง โดยเตรียมรัดเข็มขัดรอบด้าน รับคนกลับเข้าทำงานลดลง เปิดสมัครใจลาออกเพิ่มขึ้น มุ่งใช้เทคโนโลยีแทนคน เอสเอ็มอีจะฟื้นตัวยากขึ้น เพราะสภาพคล่องจะมีปัญหา ต้องปรับตัวรับตลาดที่การบริโภคชะลอตัว ประชาชนจากนี้จะประหยัดมากขึ้นจากบทเรียนโควิด-19

   นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า ...ภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จบลง (Post Covid-19) มีแนวโน้มว่า นายจ้างจะมีนโยบายปรับตัวที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่...


มาตรการคุมเข้มโควิด-19....ต้องควบไปกับการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจ

หลังคลายล็อคแพร่ระบาดไวรัสเฟสแรกจากการสุ่มตรวจพบว่าร้อยละ 3.57 ประชาชนบางส่วนมีการฝ่าฝืน ข้อปฏิบัติและขาดวินัยจนนายกรัฐมนตรีออกอาการหงุดหงิดขู่จะปิดหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ขณะที่ภาคเอกชนและ ชาวบ้านกดดันให้คลายล็อคมากกว่าเดิมเพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันลดลงมากประชาชนเริ่มหงุดหงิดไม่มีรายได้เลี้ยง ครอบครัว บางมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ "ศบค."ขัดแย้งกันเอง เช่น กินอาหารตามร้านต้อง "Social Distancin" ห่างกันเมตรหนึ่ง แต่ตอนนั่งรถไฟฟ้าอัดกันแน่นเป็น ปลากระป้องหรือครอบครัวเดียวกันกินอาหารต้องนั่งห่างกันแต่ตอนมาอยู่ในรถคันเดียวกัน

 

 

โดย ดร.ธนิต โสรัตน์

รองประธานสภานายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

 

 

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563


คลายล็อคดาวน์กับการแก้ปัญหาคนตกงาน

ปลายสัปตาห์ที่แล้วรัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาตฯ หรือ "ศบค." ประกาศปลดล็อค

8 ธุรกิจให้สามารถกลับมาทำการคขายได้ใหม่หลังถูกปิดไปเดือนเศษ ส่วนจะเป็นภาคส่วนไหนบ้างคงเป็นที่ทราบ

โดยทั่วไปแล้ว ประเต็นที่อยากจะสื่อสารเพราะในช่วงที่ผ่านมามีคนมาสอบถามผมมากมายเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบ

จากมาตรการของรัฐในการล็อคดาวน์พื้นที่จะทำให้การว่างงานของคนไทยเป็นอย่างไร ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า

มาตรการของรัฐที่ออกมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิต-19 แต่ละประเทศต่างงัตมาตรการต่งๆ เช่น

ปิตประเทศ-ปิตสนามบิน ตลอดจนล็อคตาวน์พื้นที่ไม่ได้แตกต่างจากไทยแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียตนามและ

 

เมียนมาของเขาเข้มกว่าไทยด้วยซ้ำไป

 

โตย ตร.ธนิต โสรัตน์

 

รองประธานสภานายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

 

 

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563