V-Digital Media | Cross Border Logistics & Transit

กัมพูชาได้กำหนดเคอร์ฟิวในพนมเปญ

กัมพูชาได้กำหนดเคอร์ฟิวในพนมเปญ เป็นเวลาสองสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 14 เมษายน เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด -19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ห้ามการเดินทางทุกชนิดในพนมเปญเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ 20.00 น. ถึง 05.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นยกเว้นด้วยเหตุฉุกเฉิน


กลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์

กลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เพิ่มช่องทางการลงทุนในกัมพูชา การเพิ่มขึ้นของนักลงทุนจากจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์และไทย ในนิคมอุตสาหกรรมพนมเปญ เป็นผลมาจากการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี การส่งเสริมการลงทุน และค่าแรงที่ถูกมากเป็นปัจจัยดึงดูดกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์เข้ามาพร้อมนักลงทุนของแต่ละประเทศ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคา และพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ของกัมพูชาลดลงกว่า 15 เปอร์เซนต์ในไตรมาสแรกของปี 2564 นี้


ด่านช่องเม็คจังหวัดอุบลราชธานี

ด่านช่องเม็คจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประตูสำคัญสู่ภาคใต้ของ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เส้นทางการขนส่งที่สำคัญ เชื่อมโยงไปยัง ปากเซ แขวงจำปาสัก และผ่านแขวงสาละวันเข้าไปทางเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้จากแขวงจำปาสักสามารถเดินทางเข้าสู่กัมพูชา เข้าสู่กรุงพนมเปญ และต่อไปยัง โฮจิมินห์ซิตี้ได้  สินค้าที่ขนส่งกันจะเป็นกลุ่มสินค้าเกษตร และอุปกรณ์ทางการเกษตร ประมาณร้อยละ 70 เป็น คาดว่าอีกไม่นานจะมีกลุ่มสินค้าอื่นๆ ให้ขนส่งกันมากขึ้น


บริษัท

บริษัท วี-เซิร์ฟ ครอสบอร์เดอร์ จำกัด สำนักงานแม่สอด เป็นตัวแทน ดำเนินพิธีการศุลกากร เพื่อส่งออกสินค้าประเภทแป้ง ข้าวเหนียว ผ่านด่านศุลกากรแม่สอด ( สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาร์ ) แห่งที่ 2 และส่งสินค้าไปยังปลายทางที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์  แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันทำให้ต้องมีการโหลดสินค้าเพื่อจัดเก็บไว้ในคลังสินค้าที่เมืองเมียวดี และทำการขนส่งไปยังเมืองชั้นในด้วยรถบรรทุกขนาดเล็กแทน ทั้งนี้ลูกค้าจะได้รับข้อมูลอัพเดทสถานะการจัดส่งสินค้าในทุกขั้นตอนแบบเรียลไทม์

สำนักงานแม่สอดเรา เน้นให้บริการดำเนินพิธีการศุลกากร ตามมาตรฐาน AEO และใส่ใจในทุกรายละเอียดเพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าจะถึงมือลูกค้าของคุณอย่างปลอดภัย


สถานการณ์การประท้วงในพม่ายังไม่มีท่าทีว่าจะสงบลงในระยะเวลาอันใกล้นี้แน่นอน...

สถานการณ์การประท้วงในพม่ายังไม่มีท่าทีว่าจะสงบลงในระยะเวลาอันใกล้นี้แน่นอน ผู้นำเข้าส่ง-ออกสินค้าทั้งทางรถ ผ่านด่านชายแดน ทางเรือ และทางอากาศ ยังต้องรอกันต่อไป ในระยะเวลา 50 วันที่ผ่านมาระบบการสื่อสาร ระบบการเบิกถอนเงินกับธนาคาร การขนส่งสินค้าที่เป็นองค์ประกอบของการให้บริการโลจิสติกส์ ไม่สามารถขับเคลื่อนได้


V-serve

V-serve Crossborder Ltd. การส่งออกสินค้าไปยังประเทศเมียนมาร์ ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ ผู้ประกอบการต้องมีการตรวจเช็คกับผู้รับสินค้าในทุก ๆ ครั้ง เพื่อไม่ให้มีความผิดพลาดอันเกิดจากสถานการณ์ที่นอกเหนือการควบคุมจนทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือ แม้แต่ความเสียหายต่อสินค้า

บริษัทฯ ของเราจึงเน้นให้บริการดำเนินพิธีการศุลกากร ตามมาตรฐาน AEO และเรายังใส่ใจในทุกรายละเอียดเพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าจะถึงลูกค้าอย่างปลอดภัย


จังหวัดพระสีหนุ

จังหวัดพระสีหนุ หรือกำปงโสม เป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของกัมพูชามีการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบเข้าไปในแต่ละวันจำนวนมาก เมื่อมีประกาศแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน ไม่ให้มีการเดินทางเข้าออกจังหวัดดังกล่าว เพราะมีผู้ติดเชื้อโควิด -19 อาศัยและทำงานอยู่ทำให้การขนส่งสินค้าเข้าจังหวัดดังกล่าวต้องชะลอไว้ก่อน อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ส่งออกสินค้าตรวจสอบข้อมูลก่อนการนำส่งสินค้า


ความไม่มั่นคงของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์

ความไม่มั่นคงของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ในพม่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ความรุนแรงของทหารและตำรวจที่เข้าสลายการชุมนุม ภายใต้คำสั่งของรัฐบาลทหาร ส่งผลให้สายเรือผู้ขนส่งต้องทบทวนการให้บริการที่ท่าเรือย่างกุ้ง ท่าเรือติลาวา สำหรับการขนส่งผ่านแดนทางถนนด่านแม่สอด สินค้ายังคงตกค้างที่คลังสินค้าในเมียวดีจำนวนมากไม่สามารถขนส่งเข้าเมืองย่างกุ้ง และเขตอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้


ปัญหาการประท้วงในเมียนมาร์

ปัญหาการประท้วงในเมียนมาร์ ส่งผลกระทบต่อการขนส่งชายแดนแม่สอด-เมียวดี ในช่วงระหว่างวันที่ 8 - 12 มีนาคมที่ผ่านมาสถานการณ์การปะทะกันระหว่างทหารกะเหรี่ยงกับทหารตำรวจของทางรัฐบาลเมียนมาร์ ที่เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมการชุมนุม เหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความกังวลกับผู้รับขนส่งสินค้าจากคลังสินค้าเมียวดีไปย่างกุ้งอย่างมาก สำหรับผู้นำเข้าส่ง-ออกสินค้าตามด่านชายแดน ดังกล่าวจะต้องสอบถามข้อมูลก่อนการส่งออกทุกครั้ง


สินค้าประเภทวัตถุดิบ

สินค้าประเภทวัตถุดิบ ที่ถูกขนส่งทางถนนจากประเทศไทยผ่านด่านอรัญประเทศเข้าเขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปตจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ต้องยอมรับว่ากัมพูชาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 น้อยมากเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศในโซนอาเซียนด้วยกัน นักลงทุนจาก จีน ญี่ปุ่น และไทย จึงเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าเพื่อรองรับการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสที่สองนี้