V-Digital Media | Cross Border Logistics & Transit

สถานการณ์

สถานการณ์ Logisticsในเมียนมาร์ยังคงวิกฤต

การประท้วงในเมียนมาร์ ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ทหารเข้าปราบปรามระงับเหตุ ด้วยวิธีที่รุนแรงเฉียบขาดสร้างความกลัวต่อผู้ให้บริการรับขนส่งสินค้า ทั้งภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าจากด่านชายแดน

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์หลายๆ ราย หยุดขนส่งในช่วงเวลานี้ โดยให้เหตุผลว่า พวกเขาไม่สามารถดูแลสินค้าที่ขนส่งได้ เพราะไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้นระหว่างขนส่งได้


เมื่อปีที่ผ่านมา

เมื่อปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศกัมพูชา ให้ความสนใจสินค้ากลุ่มอาหารและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์มากขึ้นจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าลดลงอย่างมาก การนำเข้าสินค้าผ่านด่านชายแดนไทย และเวียดนามของกัมพูชาลดลง ร้อยละ 30 ในกลุ่มสินค้าประเภทวัตถุดิบ และร้อยละ 50 ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย แต่สำหรับสินค้ากลุ่มอาหารและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ กลับมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว


สำนักงานสาขาแม่สอด

สำนักงานสาขาแม่สอด / V-serve Crossborder Ltd. ให้บริการดำเนินพิธีการศุลกากรขาออกจากด่านศุลกากรแม่สอด ( ประเทศไทย ) ส่งสินค้าเข้าไปยังประเทศเมียนมาร์ ( ผ่านด่านศุลกากรเมียวดี ) สินค้าประเภทของอุปโภค-บริโภค บริษัทฯ ให้บริการภายใต้มาตรฐาน  เราใส่ใจทุกขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่การตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งตรวจสอบรถขนส่งสินค้า  เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า สินค้าจะถูกส่งถึงมือผู้รับได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย


ปัญหาการส่งออกสินค้าทางเรือของเมียนมาร์

ปัญหาการส่งออกสินค้าทางเรือของเมียนมาร์

จากการประท้วงและการต่อต้านกลุ่มผู้ประท้วงที่เกิดขึ้นภายในของประเทศเมียนมาร์ ส่งผลต่อระบบโลจิสติกส์อย่างมาก สินค้าที่ต้องการส่งออกจากท่าเรือย่างกุ้งทุกท่าเรือ (Asia World Port Terminal (AWPT), Myanmar Industrial Port (MIP) ,Myanmar International Terminal Thilawa (MITT) ไม่สามารถให้บริการได้ ผู้ส่งออกสินค้าบางส่วน ต้องยอมจ่ายค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อขนสินค้ามาด่านชายแดนเมียวดี – เข้าด่านแม่สอดและส่งออกที่ท่าเรือแหลมฉบังไปยังประเทศปลายทาง


บริษัท

บริษัท วี-เซิร์ฟ ครอสบอร์เดอร์ จำกัด

สำนักงานแม่สอด ให้บริการ Logistics ครบวงจร ทั้งนำเข้า - ส่งออกสำหรับสินค้าทุกประเภท เราพร้อมให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดน และงานด้านศุลกากรแบบครบวงจร ณ ด่านศุลกากรแม่สอด – ด่านศุลกากรเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ด้วยมาตรฐานตัวแทน AEO จึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการแบบถูกต้องตามกฎหมาย รวดเร็วและมีคุณภาพ


Lao

Lao National Single Window (LNSW)

กระทรวงการคลังลาวได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ของระบบ LNSW ที่พรมแดนระหว่างประเทศและสนามบินทุกแห่งในลาวเพื่อลดความซับซ้อน ทำให้การนำเข้า – ส่งออก การเคลื่อนย้ายสินค้าและการขนส่งสินค้า มีประสิทธิภาพมากกว่าขึ้น ระบบจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป


สถานการณ์ในเมียนมาร์

สถานการณ์ในเมียนมาร์  มีการประท้วงตามเมืองใหญ่ๆ กระจายไปทั้งประเทศ สำหรับชายแดนเมียวดี (ตรงข้ามแม่สอด ของประเทศไทย) เจ้าหน้าที่เมียนมาร์ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมตัวกันหยุดงานทั้งหมด เพื่อเข้าร่วมประท้วงกับประชาชนเมียวดี ภายใต้การดูแลของกองทหารกะเหรี่ยง ส่งผลให้การนำเข้า – ส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรเมียวดีประเทศเมียนมาร์ (สะพานมิตรภาพไทย – เมียนมาร์ แห่งที่ 2 ) ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงาน การทำกิจกรรมโลจิสติกส์ ไทย-เมียนมาร์ ต้องอัพเดทติดตามข้อมูลทุกวัน


รถไฟไทยพร้อมเชื่อมเส้นทางสู่กัมพูชาที่อรัญประเทศ

รถไฟไทยพร้อมเชื่อมเส้นทางสู่กัมพูชาที่อรัญประเทศ

เส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าทางบก จากประเทศไทยไปยังประเทศกัมพูชา ส่วนใหญ่คงจะนึกถึงการนำเข้า/ส่งออก ผ่านด่านชายแดน อรัญประเทศ – ปอยเปต หรือ ด่านบ้านเขาดิน – ด่านพระตะบอง รวมถึงการเดินทางไปยังประเทศกัมพูชาก็ใช้เส้นทางรถยนต์ผ่านด่านชายแดนเส้นทางนี้ แต่ทางรถไฟก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกแม้จะยังมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์มากนัก ปัจจุบันมีการเปิดให้ใช้ทั้งหมด 2 เส้นทางด้วยกันคือ

 1) ปอยเปต – บันเตียเมียนเจย – พระตะบอง – โพธิสัตว์ – พนมเปญ

 2) พนมเปญ – ตาแก้ว – กัมปอต – สีหนุวิลล์

 ซึ่งต่อไปจะเป็นเส้นทางโลจิสติกส์สำหรับขนส่งสินค้าที่สำคัญ


สำนักงานสาขาแม่สอด

สำนักงานสาขาแม่สอด / V-serve Cross Border Ltd.แจ้งข่าวเกี่ยวกับการพิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้าที่เมียวดีเมียนมาร์ ต้องใช้ระบบ Manual ทั้งหมด เพราะระบบการสื่อสารที่ยังไม่เสถียรจึงทำให้เกิดความล่าช้า และบางกรณีอาจมียอดภาษีที่ผิดพลาดได้ ผู้นำเข้าจึงต้องเตรียมเอกสารสำหรับผ่านพิธีการให้ครบถ้วน และต้องตรวจสอบให้ถูกต้องทุกครั้ง


โควิด

โควิด -19 ระลอกสองของกัมพูชากระทบผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ระลอกที่สองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ได้สร้างความเสียหายให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของกัมพูชาเป็นอย่างมาก สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในรอบแรกที่ผ่านมายังไม่ได้ฟื้นตัวดีมากนัก ไม่ทันไรกลับมีระลอกที่สองกลับมาซ้ำอีกครั้ง ตั้งแต่ต้นปี 2021 โดยผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของกัมพูชาประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์คาดว่าอาจล้มละลายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า