Image
Logistics News & Article
มาเลเซียเพิ่มความเข้มงวดการนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร

บทความโดย คุณอารีรัตน์ สันตะพันธ์

ตำแหน่ง รองผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ

 

.....ในช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศมาเลเซียกับการตรวจสอบความปลอดภัยอาหารจากสินค้านำเข้ามีมากขึ้น โดยประเทศไทยมีการส่งสินค้าประเภทอาหารไปยังประเทศมาเลเซีย ทั้งทางบกและทางอากาศ โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย มักจะเป็นรูปการณ์ค้าขายแบบชายแดน และสินค้าที่มีการส่งออก มีทั้งการขายส่งและขายปลีก ไปยังร้านอาหารทั่วประเทศมาเลเซีย .....


V-Serve

บทความโดย คุณชัยมงคล ถ้ำกลาง ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฯ

.....V-Serve e-Shipment Alert System หรือ “ระบบแจ้งเตือนการรับงานอัตโนมัติ”  เป็นระบบตอบกลับการรับงานอัตโนมัติ (Auto Responsiveness) พัฒนาขึ้นเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าเมื่อลูกค้าแจ้งงานมาแล้ว งานได้ถูกดำเนินการเปิด Job เข้าระบบเรียบร้อย ลดขั้นตอนลดงานลูกค้าที่ต้องมาตรวจสอบติดตามว่างานได้เข้าสู่กระบวนการทำงานแล้วหรือยัง โดยระบบจะแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยัง Email ของลูกค้าที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว เมื่อฝ่ายบริการลูกค้าได้ทำการเปิด Job ขึ้น Plan โดยระบบจะส่งแจ้งลูกค้าเป็น 2 ช่วงเวลา เพื่อไม่ให้เป็นการเตือนบ่อยเกินไป .....

 


e-Truck

บทความโดย คุณชัยมงคล ถ้ำกลาง ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฯ

.....V-Serve e-Truck Booking System หรือ “ระบบใบสั่งงานจัดรถขนส่งอิเล็กทรอนิกส์”  เป็นระบบที่พัฒนาให้เชื่อมโยงข้อมูลการทำงานของหน่วยงานภายในบริษัทฯ ที่ทำงานด้วยระบบ ERP. System และเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานจัดรถขนส่ง (Truck Fleet Center) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานโดยข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงอัตโนมัติทั้งหมด ทั้งยังช่วยให้หน่วยงานจัดรถขนส่ง สามารถติดตามงานสรุปงานเที่ยวการเดินรถ ตรวจสอบงานย้อนหลังจากระบบเดียวกันได้อีกด้วย .....


ถุงลมกันกระแทก......อุปกรณ์สำคัญในงานบรรจุตู้สินค้า

บทความโดย คุณปิยรัตน์ ศุภสมุทร
ตำแหน่ง  รองกรรมการผู้จัดการ

.....ระบบการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม โดยจะมีการบรรจุสินค้าลงในบรรจุภัณฑ์อาทิ กล่องกระดาษ   ลังไม้ เป็นต้น ซึ่งจะมีขนาดและลักษณะแตกต่างกัน ไปตามแต่ล่ะประเภทอุตสาหกรรม  ซึ่งผู้บรรจุสินค้า เข้าตู้คอนเทนเนอร์ต้องจัดเรียงสินค้าให้ได้มาตรฐานการบรรจุสินค้า เพื่อการส่งมอบสินค้าไปถึงปลายทาง อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่เกิด ความเสียหายแก่สินค้า.....


Freight

V-SERVE GROUP พบกับ Freight News October 2022  ฉบับประจำเดือนกันยายน 2565  | Report โดยสายงานต่างประเทศ

.......................................................

 

อัพเดทสถานการณ์ในประเด็นดังต่อไปนี้ ......

1. สถานการณ์ส่งออกทางท่าเรือคลองเตยแะท่าเรือแหลมฉบัง

2. สถานการณ์ส่งออกทางท่าเรือสงขลาและเรือปีนัง

3. สถานการณ์ส่งออกทางถนนไปเมียนมาร์ผ่านด่านแม่สอด

4. สถานการณ์ส่งออกทางถนนไปกัมพูชาผ่านด่านอรัญประเทศ

5. สถานการณ์ส่งออกทางถนนไปลาวผ่านด่านหนองคาย ด่านเชียงของและเชียงแสน

    "จะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่นี้"

 

ติดต่อใช้บริการขอคำปรึกษาได้ที่ ...... 

สำนักงานกรุงเทพ : คุณโชคชัย  ชูขวัญชาญณรงค์   Mobile : 086-341-8952  Tel : 02-332-3940 ต่อ 1037  E-Mail : chokchai@v-servegroup.com

สำนักงานสาขาหาดใหญ่ : คุณกิติยา อนุกูล     Mobile : 080-584-7332  Tel : 07-424-1342 ต่อ 111   E-Mail :kitiya.south@v-servegroup.com


กัมพูชาเปิดทางด่วนสายแรกในวันที่

บทความโดย คุณพิชญุตม์ วัชรสุวรรณเสรี

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานต่างประเทศ

......กระทรวงโยธาธิการและคมนาคม (MPWT) ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ว่า กระทรวงโยธาธิการและคมนาคม (MPWT) เปิดเผยว่ามีรถยนต์เกือบ 9,000 คันเดินทางบนทางด่วนสายแรกของกัมพูชาในวันแรกของการเปิดทดลองใช้ มีทั้งรถยนต์ส่วนตัวและรถบรรทุกสินค้า ทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ ซึ่งลงทุนโดย           ชาวจีนเปิดให้ประชาชนเข้าชมในวันเสาร์       ที่ผ่านมา (วันที่ 2 ตุลาคม 2565)            เพื่อทดลองใช้งานฟรี 1 เดือน หลังจากก่อสร้างนานกว่า 3 ปี ทางด่วนแห่งนี้ช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางเป็นอย่างมาก จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง เหลือเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น              ทางด่วนใหม่นี้มีความยาวรวม 187 กิโลเมตรเชื่อมต่อเมืองหลวงพนมเปญและท่าเรือน้ำลึกของจังหวัดพระสีหนุ กระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา กล่าวว่า ทางด่วนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประหยัดเวลาในการเดินทางและลดต้นทุนด้านการขนส่ง อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ทำให้ยานพาหนะสามารถขับได้เร็วขึ้น และลดความแออัดที่เกิดขึ้นปัจจุบันซึ่งจะดีขึ้นอย่างมากสำหรับการค้าและการท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชา.....


ลาว

บทความโดย คุณ โชคชัย ชูขวัญชาญณรงค์

 ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและข้ามแดน

 

.....ลาว ไทย และจีนกำลังคิดที่จะ “สร้างสะพานรถไฟแห่งใหม่ขนานกับสะพานมิตรภาพลาว-ไทยแห่งแรก” เพื่อช่วยเหลือการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ข้ามพรมแดน ตามรายงานของสื่อลาว การก่อสร้างจะเริ่มจากสะพานมิตรภาพลาว-ไทยแห่งแรก 30 เมตร และมีทางรถไฟทั้งหมด 4 สาย ปัจจุบันเนื่องจากความแตกต่างของรางรถไฟ ตู้สินค้าของไทยที่มุ่งหน้าไปยังประเทศจีนจำเป็นต้องขนถ่ายจากรถไฟที่สถานีขนส่งตู้สินค้าในหนองคาย และบรรทุกสินค้าขึ้นรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เพื่อข้ามสะพานมิตรภาพลาว-ไทยไปยังเวียงจันทน์ จากนั้นสินค้าจะถูกโหลดขึ้นรถไฟลาว-จีนเพื่อส่งไปยังประเทศจีน ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ทางรถไฟในการขนส่งสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะกล้วยไม้ ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ประมงและปศุสัตว์ มีการขนส่งสินค้ามากกว่า 1 ล้านตันบนทางรถไฟลาว-จีน นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อแปดเดือนก่อน หากคิดเป็นมูลค่าการขนส่งสินค้าก็จะคิดเป็น 1.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเส้นทางนี้.....


การจัดเก็บสินค้าและกระจายสินค้าในภาวะวิกฤตน้ำท่วม

บทความโดย คุณสำเริง อินทร์วงษ์

ตำแหน่ง ผู้จัดการคลังสินค้าสาขาบางปู

 

.....การจัดการโลจิสติกส์มีบทบาทอย่างชัดเจนเมื่อต้องพบกับมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ไม่สามารถป้องกันการไหลหลากของปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ต่าง ๆ ส่งผลให้การบริหารสินค้าคงคลัง, การขนถ่ายลำเลียง, การขนส่งและการกระจายสินค้า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเฉพาะลูกค้าที่ใช้บริการคลังสินค้าในการจัดเก็บสินค้า ก่อนส่งสินค้าเข้าโรงงานผลิต            (Raw Material) หรือก่อนการส่งสินค้าให้ลูกค้า (Finish Goods) คลังสินค้าจึงจำเป็นต้องสร้างอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยต่อน้ำที่จะท่วมถึงรวมถึงถนนที่สัญจรต้องอยู่สูงพอที่ระดับน้ำท่วมไม่ถึงหรือสามารถที่ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าหรือขนส่งสินค้าได้สะดวกและปลอดภัย  ในช่วงน้ำท่วมการประสานงานกับภาครัฐในการวางมาตรการป้องกันน้ำท่วมสำหรับถนนที่อยู่แนวเส้นทางการขนส่งมีระดับต่ำมากๆ เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดภายในระบบโลจิสติกส์  ดังเช่น ในช่วงอุทกภัยที่ผ่านมาที่เกิดการขาดแคลนสินค้าในหลายๆ พื้นที่จากการที่เส้นทางการขนส่งสินค้าถูกตัดขาดจนทำให้การกระจายสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบากถึงแม้ว่าโรงงานผลิตสินค้าจะไม่ได้ถูกผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม.....


การชะลอตัวของการส่งออกถุงมือยาง....หลังวิกฤตการณ์โควิด-19

บทความโดย คุณศิวกร วิชากิจ

ตำแหน่ง รองประธานกรรมการและผู้อำนวยการสายงานสาขาภาคใต้

 

.....นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 ผู้ประกอบการไทยที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกถุงมือยาง มีแนวโน้ม        การส่งออกถุงมือยางอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระหว่างปี 2021-2022 อันเนื่องมาจากความต้องการของตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้หลายๆ โรงงานผู้ผลิตมีแนวโน้มเพิ่มอัตรากำลังการผลิตและมีการวางแผนขยายโรงงานผลิตในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2022 สำหรับไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2022 น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการถุงมือยางจากการตรวจหาเชื้อเป็นการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 และใช้ถุงมือสำหรับฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวซึ่งปริมาณความต้องการอาจเป็นผลทำให้ความต้องการที่ใช้ลดลงส่งผลทำให้ปริมาณการใช้ถุงมือยางมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปี 2020 และ 2021 อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมถุงมือยางไทยเผชิญสภาวการณ์ผลิตที่สูงกว่าความต้องการของตลาดโลก ทำให้การส่งออกถุงมือยางไปยังตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการกักตุนสินค้าของผู้ซื้อในต่างประเทศที่ยังคงมีสินค้าเก่าไว้ใน Stock ส่งผลให้ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2022 กลุ่มธุรกิจถุงมือยางทั้งไทยและมาเลเซียประสบภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่องคาดว่าออเดอร์การส่งออกจะลดลงกว่า 30-40 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดียวกัน ปีที่ผ่านมาในมุมของบางโรงงานผลิตหยุดไลน์ผลิตจาก 24 ชั่วโมง เหลือ 12 ชั่วโมงเพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนและหลายๆ โรงงานชะลอการขยายโรงงานใหม่ที่มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อรอดูสถานการณ์ของตลาดโลกว่าจะเป็นไปในทิศทางใด.....


การสอบถามพิกัดล่วงหน้าดำเนินการอย่างไร..

บทความโดย คุณธนากร  แสงพิทูร

ตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการสายงานบริการลูกค้าและกิจการสาขา

 

.....ปัญหาพิกัดอัตราศุลกากรเป็นการตีความพิกัดตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ในภาค 1    ที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรที่มีแยกย่อยเป็นประเภทและประเภทย่อยประกอบด้วยเลขรหัส 4 ตัว เลข 2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ “ตอน”  และเลข 2 ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ “ประเภท” ในตอนนั้นๆ ส่วนประเภทย่อย หมายถึง ประเภทพิกัดศุลกากรที่แยกย่อยลงไปมีเลขรหัส 8 ตัว โดย 6 ตัวแรกเป็นเลขรหัสสากลที่ทุกประเทศซึ่งใช้พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ให้ตรงกันและเลข 2 ตัวหลังเป็นเลขรหัสพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน การสำแดงประเภทพิกัดในใบขนสินค้าต้องสำแดงเลขรหัสตามประเภทย่อยแต่ยังมีการแยกย่อยในการจัดเก็บข้อมูลสินค้าที่เรียกว่า รหัสสถิติ หมายถึง รหัสสถิติและรหัสหน่วยสินค้า รหัสสินค้ามีเลข 11 ตัว โดยเลข 8 ตัวแรกตรงกับรหัสประเภทย่อย ส่วนรหัสสถิติ จึงแสดงเฉพาะรหัสสินค้า 3 ตัวหลังแล้วต่อท้ายด้วยรหัสหน่วยสินค้าเป็นอักษร 3 ตัว เช่น KGM, C62 และ LTR เป็นต้น.....