Image
Logistics News & Article
สาระความรู้

บทความโดย คุณปทิตตา  จันทร์สิน

ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด (ผลิตภัณฑ์เทรดดิ้ง)

 

.....บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมามีความสามารถนำมาห่อหุ้มสิ่งของหรือสินค้าชนิดต่างๆได้ง่าย หรือเพื่อทำการปกป้องหรือป้องกันสินค้าเหล่านั้นจากการขนส่ง และยังเป็นการช่วยเก็บรักษาสินค้าจากปัจจัยภายนอกที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งยังสามารถยืดอายุสินค้าเหล่านั้นได้ 

 

      บรรจุภัณฑ์อาหาร คือ บรรจุภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับอาหารโดยเฉพาะ เหตุเพราะอาหารนั้นมีความแตกต่างจากพัสดุชนิดอื่นๆ และยังมีหลากหลายชนิดทำให้ในแต่ละบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นยังต้องมีคุณสมบัติที่ต่างกันออกไปเพื่อให้รองรับอาหารได้ทุกๆชนิดนั่นเอง

 

      บรรจุภัณฑ์อาหาร มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจอาหารโดยตรง ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อทำหน้าที่ในการใส่สินค้า หรืออาหารนั่นเอง นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับอาหารโดยเฉพาะ ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์จะมีหลายรูปแบบ และขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละการใช้งาน ซึ่งในบางประเภทของบรรจุภัณฑ์อาหารก็ยังสามารถรักษาอุณหภูมิของอาหารที่อยู่ภายในได้ ช่วยให้อาหารนั้นไม่เสียรสชาติ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจและกลับมาซื้ออาหารของคุณใหม่นั่นเอง และถูกต้องตามสุขอนามัยความปลอดภัยด้านอาหาร ไม่มีสิ่งเจือปรับรองมาตรฐาน GMP/HACCP CODEX.....


พิกัดอัตราศุลกากร

บทความโดย คุณธนากร  แสงพิทูร

ตำแหน่ง กรรมการสายงานบริการลูกค้าและกิจการสาขา

 

พิกัดศุลกากร “HS Code” คืออะไร<br>

.....พิกัดศุลกากร หรือ HS Code (Harmonized System) มีการยอมรับและประกาศใช้โดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) เป็นความร่วมมือของสมาชิกกว่า 176 ประเทศ รวมประเทศไทยด้วย ที่เข้าร่วมมาตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ซึ่งถือเป็นระบบสากลทางการค้าระหว่างประเทศ สำหรับประเทศไทย มีการนำระบบพิกัดศุลกากรมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 แทนที่รหัสพิกัดศุลกากรของ Customs Co-operation Council ที่เราใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ในแต่ละประเทศย่อมมีประเภทของสินค้าและวัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงในแต่ละที่อาจเรียกชื่อแตกต่างกันด้วย จึงได้มีการคิดข้อกำหนดของประเภทและชนิดสินค้าให้มีความเข้าใจตรงกันทั่วโลก และมีความเป็นสากล จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นมาเพื่อกำหนดเกณฑ์ที่ชื่อว่า “HS Code” ขึ้นมา.....


Multimodal

บทความโดย คุณศิวกร วิชากิจ

ตำแหน่ง รองประธานกรรมการสายงานสาขาภาคใต้

 

 

.....Multimodal ปาดังเบซาร์ คือการขนส่งหลายรูปแบบที่เรียกว่า การขนส่งจากทางเรือมาทางรางรถไฟ และต่อด้วยรถยนต์จนถึงโรงงานผู้ผลิต ซึ่ง Multimodal ปาดังเบซาร์ เป็นด่านพรมแดนสำคัญทางภาคใต้ของไทย ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซียตรงเมืองปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ติดกับด่านพรมแดนไทยตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปัจจุบัน Multimodal ปาดังเบซาร์ บริหารงานโดยบริษัท   รถไฟแห่งประเทศมาเลเซีย (KTM) และตัวแทนบริษัท Multi modal ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนในประเทศมาเลเซียที่จัดสรรพื้นที่ ICD ของสินค้านำเข้า-ส่งออก ทางระบบรางร่วมกันบริหารกับทางภาครัฐ สินค้าโดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าส่งออกในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ที่ส่งผ่านไปยัง Multimodal ปาดังเบซาร์ และลากสินค้าทางรางรถไฟเพื่อไปส่งออกทางท่าเรือปีนัง ในแต่ละปีผู้ประกอบการไทยมีการส่งออกโดยใช้ Multimodal ปาดังเบซาร์ ปีละไม่ต่ำกว่า 200,000 ตู้ สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่ได้แก่ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยางพาราแปรรูป ถุงมือยาง ไม้ปาติเกิ้ลบอร์ด เป็นต้น เนื่องจากค่าระวางสินค้าทางเรือถูกกว่าการส่งออกทางท่าเรือสงขลา และค่าระวางเรือส่วนใหญ่จะมีการ Nominate มาจากผู้ซื้อจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการไทยจะมีหน้าที่ส่งสินค้าแค่ถึงท่าเรือปีนังเท่านั้น หรือที่เรียกว่าการซื้อขายแบบ TERM FOB.....


V-Serve

โดยคณะทำงานวี-เซิร์ฟนิวส์
บรรณาธิการ : นางสาวประกายดาว ลาโพธิ์

.....ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลทั่วโลกอยู่ในจุดต่ำสุดหลังจากนี้จะมีการปรับค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ในตอนนี้ค่าระวางที่ใช้บริการกันอยู่ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาส่งผลให้ผลประกอบการของสายเรือขนาดใหญ่ผลกําไรติดลบมีการปลดพนักงานออกกว่า 7,000 คนและหากพบว่าสถานการณ์การขนส่งสินค้าไตรมาสแรกของปีหน้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้จะปรับลดจํานวนพนักงานอีกประมาณ 3,500 คน โดยตลอดทั้งปีที่ผ่านมาสายเรือผู้รับขนส่งได้มีความพยายามทุกรูปแบบแล้วเริ่มจากการลดจํานวนเที่ยวเรือ ลดจํานวนเรือ การรวมกลุ่มกับเพื่อร่วมกันขนส่งสินค้าและการลดค่าระวางเพื่อกระตุ้นการนําเข้า-ส่งออกทุกวิธีไม่ได้รับผลการตอบรับในเชิงบวก สายเรือยังคงขาดทุนอย่างต่อเนื่อง.....


น้ำมันแพง

บทความโดย คุณปทิตตา  จันทร์สิน

ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด (ผลิตภัณฑ์เทรดดิ้ง)

 

.....ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นนี้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตอย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากเป็นต้นทุนด้านเชื้อเพลิงซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรง โดยมีอุตสาหกรรมพลาสติกเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบในรูปแบบของค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ และราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้นพลาสติกก็มีราคาสูงขึ้นจากปัญหาน้ำมันแพง  หนึ่งในวัสดุที่มีราคาสูงขึ้นจากปัญหาน้ำมันดิบราคาแพง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย (Downstream Petrochemical Industry)โตรเคมีขั้นสุดท้าย คือ โพลีเอทิลีน หรือพลาสติก PE ซึ่งเป็นพลาสติกที่ถูกใช้ในภาคอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ไปจนถึงท่อพลาสติก.....


หางลากโลว์เบด

บทความโดย คุณสวัสดิ์ แซ่ลิ่ม 

ตำแหน่ง  ผู้จัดการฝ่ายขนส่งสาขาใต้

 

หางลากโลว์เบด (LOW BED)

.....การเลือกใช้ บริการขนส่งสินค้า ควรเลือกรถที่มีขนาดเหมาะสมกับสินค้าในธุรกิจนั้นๆ และสามารถรับน้ำหนักของสินค้าที่เรามีได้ นอกจากจะเป็นการประหยัดต้นทุนของธุรกิจในด้านการขนส่งแล้ว ยังสามารถจัดส่งสินค้า ให้ไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย ไม่ชำรุดเสียหาย อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางไปส่งสินค้าในบางพื้นที่อีกด้วย เนื่องจากสามารถคำนวนและบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเห็นได้ว่าการขนส่งในบ้านเราส่วนใหญ่มักจะนิยมขนส่งด้วยรถเทรลเลอร์ ขนส่งโดยการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ให้เห็นเต็มท้องถนน และหลายคนคงเคยเห็นหางรถบรรทุกที่มีขนาดต่ำกว่าปกติวิ่งบนท้องถนนเป็นจำนวนไม่น้อย อาจจะสงสัยว่าหางประเภทนี้เรียกว่าอะไร ทำไมถึงต้องใช้หางประเภทนี้ .....


การติดตั้งถังดับเพลิงภายในอาคารคลังสินค้า

บทความโดย คุณสำเริง อินทร์วงษ์

ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้า

    

การติดตั้งถังดับเพลิงภายในอาคารคลังสินค้า เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันเกิดอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นภายในอาคารคลังสินค้าโดยจะต้องมี  Lay Out ตำแหน่งการติดตั้งถังดับเพลิงภายในอาคารคลังสินค้า ในการติดตั้งต้องเป็นไปตามกฏหมายที่กำหนดไว้  การติดตั้งและการตรวจเช็ค ตามกฎหมายการติดตั้งตามกฎกระทรวง ได้กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ โดยต้องปฏิบัติ 


ความผิดตามกฎหมายศุลกากร

บทความโดย คุณธนากร  แสงพิทูร

ตำแหน่ง กรรมการสายงานบริการลูกค้าและกิจการสาขา

 

.....ความผิดตามกฎหมายศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560  เป็นกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรในการนำเข้า-ส่งออก โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐ ผู้นำของเข้าผู้นำของส่ง นายเรือ    ผู้ควบคุมยานพาหนะ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องและมีบทกำหนดโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามไว้ในหมวด 9 จำนวน 50 มาตรา ตั้งแต่มาตรา 202-252 จำนวน 50 มาตรา ที่ผู้นำเข้าส่งออกควรศึกษาเป็นกรณีพิเศษเนื่องจากเป็นหมวดของบทลงโทษเฉพาะ ซึ่งความผิดตามมาตรา 202 มาตรา 242 หรือมาตรา 244 ให้ผู้กระทำต้องรับผิดชอบแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา ดังนั้นหากมีความผิดตามมาตรา 243 เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากรอาจจะนำเจตนามากล่าวอ้างได้ โดยมีฐานความผิดที่สำคัญ.....


เมียนมาร์สร้างสะพานชั่วคราวเพื่อเร่งระบายสินค้าจากเมืองชายแดน

บทความโดย คุณเฉลิมชัย สุยะคำ 

ตำแหน่งผู้จัดการสำนักงานสาขาแม่สอด

    

.....หลังจากที่มีพายุฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้เกิดดินถล่มบริเวณถนนสายหลักจากเมืองเมียวดีไปยังเมืองกอกาเระ ทำให้ไม่สามารถเดินทางผ่านเส้นทางดังกล่าวได้ ( โดยถนนเส้นนี้เป็นเส้นทางหลักที่ใช้ติดต่อค้าขายกันระหว่างประเทศเมียนมาร์และประเทศไทย ) โดยมีพื้นที่ดินถล่มประมาณ 50 ตารางเมตร ใกล้กับน้ำตก Tawnaw ในเทือกเขา Dawna  ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่มีการนำเข้า – ส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรแม่สอดเชื่อมต่อกับด่านศุลการกรเมียวดีต้องฝากเก็บสินค้าที่คลังสินค้าฝั่งประเทศเมียนมาร์อย่างไม่มีกำหนด และยกเลิกรับงานชิปเม้นท์ถัดไปจนกว่าขนส่งสินค้าระหว่างเมืองชั้นในได้.....


V-Serve

บรรณาธิการ : คุณโชคชัย ชูขวัญชาญณรงค์

ผู้ชำนาญการงาน Cross Border Logistics : คุณอารีรัตน์ สันตะพันธุ์

ผู้ชำนาญการด้านพิธีการศุลกากร : คุณธนากร แสงพิทูร

 

.....ความตึงเครียดของสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางทะเลสายเรือไปท่าเรือของอิสราเอลมีการยกเลิกไม่ให้บริการส่งสินค้าไปเรือของอิสราเอล (Ashdod port, Haifa port) ยังมีแค่สายเรือสัญชาติอิสราเอล “Zim Integrated Shipping ServicesLtd” ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก (Top 10 World Shipping Line) สำหรับความเสี่ยงของการขนส่งสินค้าภายใต้สภาวะสงครามของอิสราเอล (Israel War Risk Charge) ทำให้เบี้ยประกันภัยสำหรับการขนส่งไปอิสราเอลเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยสายเรือZim Line จะผลักภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปที่ผู้ส่งออกโดยคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น USD100/TEU.....